งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สุภาวดี ทองลี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88178 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของข้าว
ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Chemical and Organic Fertilizer Rates on Growth and Yield of
KDML 105 Rice in Warinchamrab District,
Ubonratchathani Province
โดย นางสาวสุภาวดี ทองลี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จานวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้า ขนาดแปลงทดลอง 2x5 เมตร จานวน 15 แปลงย่อย ผลการทดลองพบว่า
การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่และสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านเมื่อต้นข้าวอายุ 30 วัน และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะกาเนิดช่อดอก มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนรวงต่อตารางเมตร น้าหนักผลผลิตเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุดคือ 129 เซนติเมตร 278 รวงต่อตารางเมตร 347 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0.53 ตามลาดับ นอกจากนี้ยังมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุด 6 เปอร์เซ็นต์ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p= 0.01) รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่หว่านก่อนหว่านข้าว กับ ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 6กิโลกรัมต่อไร่และสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน และปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวอยู่ในระยะกาเนิดช่อดอก มีความสูงเฉลี่ย จานวนรวงต่อตารางเมตร น้าหนักผลผลิตเฉลี่ย ดัชนีการเก็บเกี่ยว และเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ เท่ากับ 122 เซนติเมตร 244 รวงต่อตารางเมตร 294 กิโลกรัมต่อไร่ 0.52 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์
ดินช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นและยังช่วยลดปัจจัยการผลิตด้านปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คาสาคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกมูลวัว
ผู้วิจัย เบญจวรรณ หนูมะเริง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88470 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล็อกซิเนีย
ในสภาพปลอดเชื้อ
Effects of BA and NAA on Growth of Gloxinia In Vitro
โดย นางสาวเบญจวรรณ หนูมะเริง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล็อกซิเนียในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 x 5 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 20 กลุ่มทดลองๆ ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดการพัฒนาเป็นต้น คือ อาหารสูตร MS ที่เติม NAA 1.5 mg/l ต้นกล้ามีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีความสูงเฉลี่ยของต้น 2.62 เซนติเมตร จำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 2.80 วัน มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงสุด คือ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนยอดใหม่ปานกลาง คือ 0.4 ยอดต่อชิ้นส่วน รองลงมาคือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น 1.96 เซนติเมตร จำนวนวันเกิดยอดใหม่ 14 วัน และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต คือ 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสูตรอาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 3 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l ไม่มีพัฒนาการของชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การตาย 100 เปอร์เซ็นต์
คำสำคัญ BA (6-benzyladenine) NAA (1-naphthalene acetic acid) กล็อกซิเนีย
ผู้วิจัย สุกัญญา คำศิริ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88927 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
ข้าวพันธุ์กข 33
A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of
RD33 Rice
โดย นางสาวสุกัญญา คำศิริ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์กข 33 (หอมอุบล 80)ได้ทำการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบCRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% ทุกๆ7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้จำนวนรวงต่อต้น น้ำหนักผลผลิต และน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุกคือ 11 รวงต่อต้น 24.33 กรัม/ต้น และ 3.33 กรัม ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 36% และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลางคือ 136 ซม. รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 143 ซม. และ มีจำนวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด ปานกลางคือ 10.3 รวงต่อต้น 37.7% 21.67 กรัม/ต้น และ 3.13 กรัม ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง
ผู้วิจัย วารี ขันธิวัตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88380 ครั้ง ดาวน์โหลด 45 ครั้ง
อิทธิพลของปุ๋ยน้ำหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของดาวเรืองอเมริกัน
พันธุ์ซอฟเวอร์เรน
Effects of Aqueous Fertilizer Combined with Chemical Fertilizer on Yield of American Marigold var. Sovereign
โดย นางสาววารี ขันธิวัตร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาอิทธิพลของการใช้ปุ๋ยน้ำหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ซอฟเวอร์เรนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ซอฟเวอร์เรนโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD)แบ่งเป็น
6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10กระถาง ได้แก่ ชุดควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ย)ใช้ปุ๋ยเคมี
สูตร 15-15-15 อัตรา 8 กรัม/กระถาง ใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดง อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนเป็ด อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดง อัตรา 25 ซีซี ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กรัม/กระถางและใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนเป็ด อัตรา 25 ซีซี ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กรัม/กระถางผลการทดลองพบว่าทุกกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในด้านความสูงทรงพุ่ม ส่วนจำนวนดอกและขนาดของดอกพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 มีแนวโน้มให้จำนวนดอกดาวเรืองต่อต้นเฉลี่ยมากที่สุด และให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกมากที่สุดเท่ากับ 7.11 และ 1.66 ตามลำดับ